ทำธุรกิจนำเข้า จัดจำหน่าย ติดตั้งและให้บริการหลังการขาย สินค้าหลักคือเครื่องรักษาโรคมะเร็งโดยวิธีการฉายแสง
ให้บริการตั้งแต่การสำรวจและออกแบบห้อง การควบคุมงานก่อสร้าง การจัดหาเครื่องมือ การติดตั้งเครื่อง และการซ่อมบำรุง
Model ธุรกิจเป็น Solution Provider
รายได้มาจาก 2 ส่วน คือ รายได้จากการขายเครื่องมือ อุปกรณ์ และรายได้จากการบริการซึ่งเป็นรายได้หลังจากเครื่องมือ อุปกรณ์ หมดประกัน
กลุ่มลูกค้า ได้แก่ โรงพยาบาลในสังกัดมหาวิทยาลัยแพทย์ โรงพยาบาลเฉพาะทางมะเร็ง โรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลทั่วไป
เครื่อง 1 เครื่องสามารถใช้งานกับผู้ป่วย 400 - 500 ราย / ปี ขึ้นอยู่กับแผนการรักษาผู้ป่วย
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่จำนวน 88 แห่ง เป็นโรงพยาบาลของรัฐจำนวน 67 แห่ง (ในจำนวนนี้มีบริการรังสีรักษาแล้วจำนวน 28 แห่ง) และโรงพยาบาลเอกชนจำนวน 21 แห่ง (มีบริการรังสีรักษาแล้ว 7 แห่ง)
คาดการณ์จำนวนความต้องการเครื่องฉายรังสีใหม่มีถึง 123 เครื่อง
ลูกค้าเป็นหน่วยงานรัฐ 95% รายได้จะปรากฏในไตรมาส 3 หรือไตรมาส 4 เนื่องจากการจัดซื้อเริ่มเดือนกันยายน บริษัทใช้เวลาดำเนินการติดตั้ง 8 - 10 เดือน
สำหรับรายได้ไตรมาส 2 ที่ผ่านมาเติบโตมากเนื่องจากมีรายได้จากโครงการขนาดใหญ่ของศูนย์วิจัยมะเร็งกรุงเทพฯ ในขณะที่ไตรมาส 2 ปี 2558 ไม่มีการส่งมอบโครงการขนาดใหญ่
Backlog มีประมาณ 560 ล้านบาท คาดว่า 60% สามารถส่งมอบได้ในไตรมาส 3 นี้
อัตรากำไรขั้นต้นและอัตรากำไรสุทธิ
ในไตรมาส 3 - 4 เชื่อว่าสามารถเพิ่มฐานของลูกค้าเอกชนได้
ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพูดคุยกับโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง เพื่อที่จะนำเข้าเครื่องฉายรังสีที่ทันสมัยมากขึ้น
ลักษณะการแข่งขันเป็นการแข่งขันน้อยราย
อายุการใช้งานเครื่อง 10 ปี ในประเทศไทยใช้ประมาณ 12 - 15 ปี ทุกโรงพยาบาลจำเป็นต้องซื้อการบำรุงรักษาเพื่อให้เครื่องสามารถใช้งานได้ตลอดอายุ
เงื่อนไขการชำระเงินของหน่วยงานรัฐเป็นการชำระเงินครั้งเดียว โดยปกติ 60 - 90 วัน ไม่เคยมีหนี้สูญจากภาครัฐ สำหรับการชำระเงินของลูกค้าเอกชนขึ้นอยู่กับการเจรจาเงื่อนไข
แผนอนาคตจะเน้นลูกค้าภาคเอกชนเพิ่มมากขึ้น
อัตรากำไรขั้นต้นด้านงานบริการอยู่ที่ 20 - 25% ส่วนด้านงานขายอยู่ที่ 10 - 15%
เหตุผลที่โรงพยาบาลไม่ซื้อโดยตรงจากผู้ผลิต เนื่องจากจำเป็นต้องใช้บริการหลังการขาย บริษัทสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีกว่า
ปัจจุบันไม่มีแผนขยายไปต่างประเทศ
เครื่องมือประเภทนี้เมื่อหมดสภาพไม่สามารถนำไปขายมือสองได้
ผู้ผลิตเครื่องหลักคือ บริษัท Varian Medical System (VAR) ส่วนเครื่องมือประกอบมาจากบริษัทอื่นประมาณ 6 - 7 บริษัท
รายได้จากการบริการคิดเป็น 20 - 25% ของรายได้รวม
พนักงานหลักของบริษัทมี 13 คน งานส่วนใหญ่ใช้บริการ Out Source
ปกติลูกค้าจะใช้เวลาในการตั้งงบประมาณ 2 ปี บริษัทสามารถวางแผนการขายล่วงหน้า
Market Share ประมาณ 60 - 65% Vendor ระดับโลกมี 2 เจ้าใหญ่
Link สำหรับดูคลิปย้อนหลัง BIZ OppDay 2Q2016
Link สำหรับเอกสารประกอบ PDF file
บทความที่เกี่ยวข้องกัน
KTC OppDay 1Q2016
TACC OppDay 1Q2016
No comments:
Post a Comment