• Home
  • OppDay
  • AGM
  • ตะลอนหุ้น
  • Food&Trip
  • About

April 22, 2017

MAKRO AGM Y2017

       สรุปการประชุม AGM หุ้น MAKRO ประจำปี 2017
 

       ปี 2559 ที่ผ่านมาเปิดสาขาใหม่ 17 แห่ง  เป็นขนาด Classic 7,000 ตร.ม. จำนวน 6 สาขา  Food Service 5 สาขา  Eco Plus 3 สาขา  Food Shop 2 สาขา  และ Frozen 1 สาขา  รวมถึงสิ้นปีมีสาขาทั้งสิ้น 115 สาขา  พื้นที่ขาย 704,000 ตร.ม.
 

       ทำการทดลองเปิดสาขา Pet Shop ขายอาหารสัตว์พื้นที่ 100 ตร.ม. ที่แหลมฉบัง  สาขา Pet Shop เป็นการเปิดร้านใน Makro เอง  ปีนี้จะเปิดอีก 1 สาขาในกรุงเทพฯ
 

       เริ่มทำการตลาด E-Commerce จับกลุ่มลูกค้า B2B  ปัจจุบันอยู่ในการทดลองระบบ  ปี 2560 จะลงทุนในส่วนนี้มากขึ้นโดยครึ่งปีหลังจะชัดเจนมากขึ้น

       สาขาแรกในกัมพูชาเริ่มก่อสร้างแล้วจะเปิดได้ประมาณเดือนธันวาคมปีนี้  การลงทุนในกัมพูชา Makro ถือหุ้น 70%  นักลงทุนท้องถิ่น 30%
 

       การลงทุน 80% ใน Indoguna สิงคโปร์ เสร็จสิ้นตั้งแต่เดือนมกราคม
 

       ปี 2559 ยอดขายเติบโต 10.9%  กำไรเติบโตเล็กน้อย  เป็นผลมาจากมีค่าใช้จ่ายสำนักงานใหญ่แห่งใหม่  การเปิดสาขาใหม่ 17 สาขา  การลงทุนในระบบ Oracle  ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มจากปีก่อนหน้า 10% กว่าๆ  ประกอบกับการแข่งขันที่มากทำให้ Margin ลดลง
 

       Makro กำลังทำโครงการ Makro 4.0  ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในอีก 5 - 10 ปีข้างหน้าเพื่อปรับรูปแบบร้านให้เหมาะสมกับพฤติกรรมของลูกค้า  ปรับปรุงสาขาเก่าให้เป็นรูปแบบใหม่  รวมถึงส่งเสริมคนรุ่นใหม่ขึ้นมาเป็นผู้บริหารเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ
 

       ธุรกิจหลักยังคงอยู่ในประเทศไทยเน้นด้านอาหาร  สำหรับต่างประเทศใน 1 - 2 ปีนี้ยังคงอยู่ที่กัมพูชา
 

       ธุรกิจต่างประเทศสนใจทั้งอาเซียน  เหตุที่ไปกัมพูชาก่อนเพราะกัมพูชาเป็นประเทศที่เปิดที่สุดสำหรับนักลงทุนต่างประเทศรวมถึงสามารถค้าขายเป็น USD ได้
 

       สาขากัมพูชาเน้นลูกค้าผู้ประกอบการเน้นเรื่องอาหาร  จุดเด่นของ Makro อยู่ที่คุณภาพความปลอดภัยของอาหารและความสะอาด
 

       สำหรับพม่ามองว่ายังไม่ใช่จังหวะเวลาในขณะนี้  ส่วนลาวต้องค้าขายเป็นเงินกีบเท่านั้น
 

       Food Service แม้มี Margin สูงกว่าแต่ค่าใช้จ่ายก็สูงกว่า  แต่โดยภาพรวมคิดว่ามีโอกาสที่ดี
 

       อินเดีย  เริ่มส่งทีมงานเข้าไปศึกษา
 

       ปี 2560 เปิดสาขา 7 สาขา  เป็น Food Service 4 สาขา  Classic 3 สาขา  การเปิดสาขา Classic พื้นที่ 7,000 ตร.ม. จะเปิดเฉพาะจังหวัดที่ยังไม่มี Makro  งบประมาณลงทุนทั้งปี 6,000 ล้านบาท  มาจากการกู้ 50% กระแสเงินสด 50%
 

       ค่าปรับ Free Float ไม่ถึง 2 ล้านบาท
 

       Position ของ Makro ในอาเซียนยังคงเน้น B2B  เน้นกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการเป็นระบบสมาชิกอาจจะซื้อน้อยหรือซื้อมากก็ได้  การขอใบอนุญาตจะขอทั้งค้าส่งและค้าปลีก
 

       ภาวะเศรษฐกิจช่วงต้นปีตรุษจีนพอใช้ได้แต่สงกรานต์เงียบมาก  ยังไม่มีข้อบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น
 

       ที่กัมพูชาเป็นการเช่าที่ดิน  รูปแบบสาขาเหมือนในไทยขนาด 10,000 ตร.ม.
 

       ที่สิงคโปร์เป็นเหมือน Siam Food Service จำหน่ายสินค้าค่อนข้าง Premium เป็นผู้ผลิตยังไม่มีร้าน
 

       เป้าการขยายในอนาคต  สาขา Classic จะน้อยลง  เน้น Food Service 1,000 - 2,000 ตร.ม.  และ Food Shop ต่ำกว่า 1,000 ตร.ม.
 

       Food Service เปิดปีละประมาณ 4 สาขาน่าจะได้
 

       กัมพูชาช่วงแรกน่าจะได้ประมาณ 5 สาขา
 

       House Brand ประสบความสำเร็จถึงเป้าหมายทุกปี  สัดส่วนประมาณ 13 - 14%  ถ้าตัดสินค้าแอลกอฮอล์ออกสัดส่วน House Brand มากกว่า 20%
 

       เหตุที่สนใจอินเดีย  ปัจจุบันมีคนทำตลาดไว้แล้วคือ Metro กัน Wallmart  อินเดียอนุญาตให้ Whole Seller ได้  ยังไม่มี Food Service  แต่ตลาดอินเดียมีความยากมากกว่าง่ายจึงต้องส่งคนเข้าไปศึกษา
 

       การลงทุนในไทยตามการศึกษาความเป็นไปได้ต้องได้ผลตอบแทน 9%  ส่วนต่างประเทศ 13% ขาดทุนไม่เกิน 4 ปี  ภายใน 3 ปีที่กัมพูชาต้องเปิดให้ได้ 5 สาขา  เตรียม Budget ไว้แล้ว
 

       Small Format ในกรุงเทพฯ เปิดที่ไหนก็ได้แต่ต่างจังหวัดไม่สามารถเปิดได้ทุกอำเภอเพราะคาดหวังลูกค้า B2B
 

       สาขาส่วนใหญ่เปิดปีแรกก็มีกำไร  แต่ระยะหลังค่าที่ดินแพงขึ้นหากคิดค่าเสื่อมอาจมีขาดทุนบ้าง  ปีที่ 2 - 3 จะมีกำไร


บทความที่เกี่ยวข้องกัน
       MAKRO AGM Y2016
       CPALL AGM Y2017

No comments:

Post a Comment