ภาพรวม
Portfolio รวม เติบโต +7.7% แบ่งเป็น บัตรเครดิต +8.9% สินเชื่อส่วนบุคคล +5.8% โดยมีสัดส่วนพอร์ตเป็นบัตรเครดิต 68% สินเชื่อส่วนบุคคล 31% สำหรับสัดส่วนรายได้มาจากบัตรเครดิต 65% สินเชื่อส่วนบุคคล 34% KTC มี NPL ต่ำสุดในอุตสาหกรรมที่ 2.2% เป็นส่วนของบัตรเครดิต 1.4% สินเชื่อส่วนบุคคล 1.0%
การใช้จ่ายผ่านบัตรเติบโต +11.7% ต้นทุนทางการเงินอยู่ที่ 4.1% กำไรสุทธิเติบโต +26% D/E ประมาณ 6.0
ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม เริ่มใช้ Outsourcing ตามเก็บหนี้
ธุรกิจบัตรเครดิต
สิ้นเดือนมิถุนายน มีบัตร 1,895,916 ใบ เติบโต +12% YoY market share 9.1% พอร์ตเติบโต 12.3% สูงกว่าอุตสาหกรรมที่เติบโต 7.5% การใช้จ่ายผ่านบัตรเติบโต 11.7% ดีกว่าอุตสาหกรรมโดยรวม NPL 1.42% น้อยกว่าอุตสาหกรรมที่ 3.23%
กลยุทธสร้างความแข็งแรงของ Portfolio มีลูกค้าใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มขึ้น 100,000 ราย / เดือน โดยมีการเติบโตของแต่ละส่วนดังนี้
Dining +17% มาจากการขยายพาร์ตเนอร์มากขึ้น
Shopping +10% โดย Fasion +19%
Gas & Auto ด้านน้ำมันแม้ยอดใช้จ่ายจะลดลงเนื่องจากราคาน้ำมันที่ต่ำลงแต่จำนวนคนใช้จ่ายเพิ่มขึ้น +6% ส่วน Auto +10%
Travel&Leisure KTCworld +60% ส่วนท่องเที่ยว +15%
Hotel +15%
ต่างจังหวัด +13% ปัจจุบันมีลูกค้าในกรุงเทพฯ 55% ต่างจังหวัด 45%
ต่างประเทศ +10%
Digital +30%
ธุรกิจบัตรเครดิตครึ่งปีแรกเติบโต 12% เป้าสิ้นปีเติบโต 15% เชื่อว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่ทำได้ เนื่องจากครึ่งปีหลังโดยปกติการใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้น
ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล
สิ้นไตรมาสมี 714,708 บัญชี เติบโต 7.7% market share ประมาณ 5% NPL ลดลงต่อเนื่องอยู่ที่ 1.02%
ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลโตไม่มากเกิดจากการคัดกรองลูกค้า แต่ภาพรวมก็สามารถเติบโตได้มากกว่าอุตสาหกรรม จะไม่ตั้งเป้าการเติบโตในธุรกิจนี้โดยให้ขึ้นอยู่กับการคัดกรองเพื่อที่จะสามารถควบคุมระดับ NPL ได้
การติดตามหนี้เหตุที่ต้อง Outsource ออกไป เพราะธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ต้องการให้บริษัททำกำไรจากส่วนนี้ หลังจาก Outsource ไปแล้วก็จะไม่ดึงกลับมาทำเองอีก แต่ยืนยันว่ามาตรฐานการติดตามหนี้จะไม่ลดลง
ปีนี้จะบุกลูกค้าร้านค้าให้มากขึ้น ปัจจุบันมีแล้วประมาณ 40,000 กว่าร้าน อย่างน้อยต้องได้ 60,000 - 70,000 ร้านถึงจะ break event นอกจากนี้ Digital Payment Platform ก็น่าจะสมบูรณ์ประมาณไตรมาส 4
เหตุที่ NPL ต่ำลง เนื่องจากผู้สมัครบัตรในชุดหลังๆ มีคุณภาพดีกว่าชุดก่อนหน้า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเครื่องคัดกรองตอนรับสมัครทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้รับลูกค้ามากขึ้นแต่ NPL ก็ไม่ได้เพิ่มขึ้น คาดว่า NPL คงไม่ต่ำไปกว่านี้โดยจะพยายามรักษาในระดับปัจจุบันให้ได้นานที่สุด
เรื่อง Coverage Ratio ไม่มีนโยบายที่จะเอาสำรองพิเศษกลับมา Write Back เป็นกำไร
ดอกเบี้ยถ้าขึ้นจะมีผลกระทบต่อบริษัท แต่เชื่อว่าดอกเบี้ยจะไม่ขึ้นในเร็วๆ นี้ ส่วนค่าเงินไม่มีผลกระทบต่อบริษัทโดยตรง
ตั้งเป้ากำไรปีนี้ที่ 2,000 ล้านบาท EPS 8 บาท / หุ้น ปี 59 อยากให้กำไรโต 15%
บทความที่เกี่ยวข้อง
KTC OppDay 3Q2015
No comments:
Post a Comment