สรุป OppDay หุ้น KTC ไตรมาส 2 ปี 2017
สัดส่วนพอร์ตมาจาก Credit Card 66% Personal Lone 33.3% อื่นๆ 0.7%
สัดส่วนรายได้มาจาก Credit Card 62.2% Personal Lone 37.2% อื่นๆ 0.6%
ธุรกิจบัตรเครดิต การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตมูลค่า 0.37 ล้านล้านบาท คิดเป็น 20.3% เมื่อเทียบกับการบริโภคในภาพรวมของประเทศ
สิ้นเดือนมิถุนายน KTC มีบัตร 2,180,786 ใบ Market Share 11% เติบโต 9.7% YoY
ปีนี้อุตสาหกรรมบัตรเครดิตเติบโต 2.7% YoY KTC เติบโตได้ 6.8% YoY
NPL ของ KTC อยู่ที่ 1.22% ในขณะที่ NPL อุตสาหกรรมอยู่ที่ 2.48%
ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล สิ้นเดือนมิถุนายนมีบัญชีอยู่ทั้งสิ้น 850,383 บัญชี เติบโต 8.4% YoY Market Share 6.8% NPL อยู่ที่ 0.88% ในขณะที่ NPL อุตสาหกรรมอยู่ที่ 2.66%
Cost to Income Ratio 36.3% ลดลงเนื่องจากยังไม่ค่อยได้ใช้ Marketing Expense ในครึ่งปีแรก
Cost of Fund 3.2%
Net Interest Margin 15.6%
D/E 5.1 เท่า
ระเบียบใหม่ BOT มีผลบังคับใช้ 1 กันยายน
สำหรับบัตรเครดิต
Minimum Income 15,000 บาท
Interest Rates and Fees 18%
Maximum Credit Line รายได้ 15,000 - 29,999 ไม่เกิน 1.5 เท่า 30,000 - 49,999 ไม่เกิน 3.0 เท่า มากกว่า 50,000 ไม่เกิน 5.0 เท่า ทั้งนี้ Maximum Credit Line ใช้สำหรับลูกค้าใหม่และไม่จำกัดจำนวนบัตรสามารถขอกับสถาบันการเงินหลายแห่งได้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละสถาบันการเงิน
ผลกระทบกับบัตรเครดิตมี 2 ส่วน คือ 1. การเติบโตของพอร์ต 2. การลดลงของรายได้
KTC มีพอร์ตที่จ่ายไม่เต็มอยู่ประมาณ 75% การลดลงของดอกเบี้ย 2% จะกระทบต่อรายได้รวมประมาณ 3%
ลูกค้าเก่าบัตรเครดิตไม่มีผลกระทบ เปลี่ยนบัตรใหม่ก็ยังได้เกณฑ์เดิม
สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคล
Interest Rates and Fees 28%
Maximum Credit Line รายได้น้อยกว่า 30,000 บาท ไม่เกิน 1.5 เท่า จำกัดไม่เกิน 3 แห่ง รายได้มากกว่า 30,000 บาท ไม่เกิน 5 เท่า
สินเชื่อส่วนบุคคลไม่กระทบกับลูกค้าเก่าเช่นกัน ยังได้เกณฑ์เดิม
มีผลกระทบชัดเจนต่อ Loan Port ทำให้มีการเติบโตช้าลงกว่าเดิม
เป้าหมาย
ปีนี้ยังคงเป้าหมายกำไรเติบโต 10% YoY
เป้า Card Spending เติบโต 15% คงไม่สามารถทำได้เนื่องจากครึ่งปีเติบโตแค่ 6.8% ส่วนจะจบที่เท่าไรยังตอบไม่ได้
เป้า Total Port เติบโต 10% ครึ่งปีทำได้ 9.7% YoY
NPL ยังคงอยู่ในเป้าที่ตั้งไว้ไม่เกิน 1.7%
กำไรของปี 2018 เป็นหน้าที่ของฝ่ายจัดการที่จะทำให้ไม่ต่ำกว่ากำไรในสิ้นปีนี้ ปัจจัยที่มีผลกระทบจะเป็นปัจจัยจากภาวะเศรษฐกิจมากกว่า เชื่อว่า KTC ยังคงได้เปรียบคู่แข่งอยู่
การแข่งขันปีหน้าจะเข้มข้นมาก แต่จะไม่มีผู้เล่นรายใหม่เป็นรายใหญ่แข่งกันเหมือนเดิม
ลูกค้าบัตรเครดิตทั่วประเทศประมาณ 6.7 ล้านคน ปัจจุบันลูกค้า KTC ประมาณ 2 ล้านคน ยังมีช่องว่างอีก 4 - 5 ล้านคนที่ยังไม่ได้เป็นลูกค้า KTC คิดว่าน่าจะเติบโตจากลูกค้ากลุ่มนี้ได้
ดอกเบี้ยลดลง 2% มีผลกระทบกับ EBIT ประมาณ 700 ล้านบาท
ปี 2018 เป็นปีที่เหนื่อยที่จะทำให้กำไรเติบโต จากนี้ไปจะเห็นอะไรใหม่ๆ ออกมาตลอดจาก KTC
จากประกาศของ BOT เชื่อว่าจะทำให้คุณภาพของพอร์ตดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้ความจำเป็นในการตั้งสำรองลดลงในอนาคต
การตั้งสำรองปัจจุบันครอบคลุม IFRS9 แล้ว 100% ไม่คิดจะ Write Back สำรอง แต่การตั้งสำรองในอนาคตอาจไม่สูงเท่าที่เคยเป็น
ผลกระทบจากประกาศของ BOT น่าจะใช้เวลาสำหรับปรับประมาณ 1 ปี
ไม่คิดว่า NPL จะต่ำได้มากกว่านี้
บัตรหมดอายุ ต่ออายุบัตร ถ้าอยู่กับธนาคารเดิมใช้เกณฑ์เดิม
Marketing Expense ที่ลดลงส่วนใหญ่มาจากการหาบัตร ปีนี้หาบัตรได้ต่ำลงจึงจ่ายเงินน้อยลง
คิดว่าช่วงนี้ Yield น่าจะต่ำสุด จึงตั้งใจใช้แหล่งเงินทุนระยะยาวเป็นจำนวนมากเพื่อให้ดอกเบี้ยต่ำในระยะยาว
ลูกค้าที่ไม่ใช้บัตรในระยะ 30 วันจะมีจดหมายแจ้งเพื่อขอยกเลิกเนื่องจากมองว่าหากช่วงเวลาที่ดีๆ ไม่ใช้เมื่อถึงเวลาที่ต้องการจะใช้เต็มวงเงินแล้วหายไปบริษัทจะเสียหายหนักได้ การที่เห็น Market Share โตจาก 9% กว่าๆ เป็น 11% เนื่องจากปัจจุบันรายอื่นเริ่มใช้วิธีเดียวกับ KTC
BOT อนุญาตให้ใช้วงเงินฉุกเฉินได้ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท
Link สำหรับดูคลิปย้อนหลัง KTC OppDay 2Q2017
บทความที่เกี่ยวข้องกัน
KTC OppDay 1Q2016
CENTEL OppDay 1Q2017
No comments:
Post a Comment