สรุปบางส่วนจากที่ประชุม
AGM
หุ้นไทยคม (THCOM)
การลงทุนในซีเนอโทน
(คู่ค้าในฮ่องกง) ซึ่งลงทุนไปตั้งแต่ปี 56 โดย THCOM ถือหุ้นในซีเนอโทน 320 ล้านหุ้นคิดเป็น 4.97% ส่วนนี้ลงบัญชีเป็นราคาทุนในส่วนของผู้ถือหุ้น
มูลค่าจะไม่กระทบกับงบกำไรขาดทุน
ต้นทุนทีลงไปประมาณ 0.10 เหรียญฮ่องกง ต่อหุ้น ปัจจุบันมีกำไรที่ยังไม่รับรู้ประมาณ 700
กว่าล้านบาท (จะรับรู้กำไรเมื่อขาย)
ยังไม่มีแผนที่จะขายหุ้นในตอนนี้เนื่องจากซีเนอโทนยังมีความสามารถในการเจริญเติบโตที่ดี
กลยุทธของไทยคมในการยิงดาวเทียมปัจจุบันใช้วิธีขายก่อนยิง คือจะต้องขายแบนวิธให้ได้ก่อนอย่างน้อย 50% ถึงจะทำการยิงดาวเทียมออกไป จากก่อนหน้าที่เป็นแบบยิงก่อนขาย จึงทำให้เมื่อยิงดาวเทียมขึ้นไปแล้วบริษัทสามารถทำกำไรได้ทันที ครอบคลุมค่าเสื่อมราคา ปัจจุบันมีดาวเทียมที่ใช้งานอยู่ 4 ดวง อัตราการใช้งานของแต่ละดวง ไทยคม 4 (IP STAR) 57% ไทยคม 5 100% ไทยคม 6 เหลือเฉพาะส่วนทวีปแอฟริกา ไทยคม 7 100% ส่วนไทยคม 8 อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ตอนนี้ขายไปแล้ว 30% โดยจะมีแผนการยิงประมาณ ไตรมาส 1 - 2 ในปี 2559
แผนปี 2558
ในส่วนของ Broadcast
CTH
เดิมใช้ดาวเทียมเวียดนาม
ปัจจุบันมาใช้ THCOM
IPM เดิมใช้ดาวเทียมลักแซมเบิร์ก กำลังอยู่ในขั้นตอนเจรจาให้มาใช้ THCOM
เปลี่ยนความคมชัดให้เป็น
HD
/ UHD ในส่วนนี้จะทำให้ใช้แบนวิธเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ในส่วนของดาวเทียมที่ช่องสัญญาณแต็มแล้วก็ยังสามารถใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มแบนวิธได้อีก
ปัจจุบัน
THCOM
ให้บริการครอบคลุมใน AEC อยู่แล้ว
มีแผนเพิ่มความเข้มข้นในพม่าทั้ง Broadcast และ Broadband
โดยพยายามที่จะเข้าไปทำธุรกิจโดยตรง แทนการทำผ่านตัวแทนในปัจจุบัน
ในส่วนของ Broadband
เน้นให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้
ทุกที่ ทุกเวลา ทุกหน้าจอ
ให้บริการ
wifi
บนเครื่องบิน
ถือเป็นเจ้าแรกในเอเชีย
ปัจจุบันทดลองกับ Nokair ให้บริการ 2 ลำ จะขยายบริการทั้ง
22 ลำ รวมถึงผู้ให้บริการการบินรายอื่น
ให้บริการ
wifi
บนเรือ Oceantrans ของญี่ปุ่น
Broadband
ออสเตรเลีย จะเจาะ segment
corperate เพิ่มเติมจากปัจจุบัน
การใช้งาน IPSTAR จากเดิม ปี 57 อยู่ที่ 57% ปี 58 ตั้งเป้าไว้ที่ 59% ดูเหมือนการเติบโตจะไม่มากจาก IPSTAR
เนื่องจากดาวเทียมดวงนี้ขนาดใหญ่มาก คือมี 880 transponder ในขณะที่ดาวเทียมทั่วไปมีแค่ 30
- 40 transponder เป้าการเติบโตของ
IPSTAR 2% นี้เป็นส่วนของ organic growth ไม่นับรวมการเจรจาขาย biglot ซึ่งบริษัทยังไม่อยากให้นักลงทุนตั้งความคาดหวังไว้มาก (Note : จุดคุ้มทุนของ IPSTAR
อยู่ที่ 25% หลังจากนั้นจะกลายเป็นกำไร)
ตลาดอินเดีย ปัจจุบัน THCOM ต้องทำธุรกิจผ่านพาร์ทเนอร์ คล้ายๆ กับ TOT ของไทย แต่ก็อยากจะเข้าไปทำเองมากกว่า
ตลาดจีน ปัจจุบัน THCOM เป็นต่างชาติรายเดียวที่เข้าไปทำธุรกิจดาวเทียมในจีน
สำหรับข้อกังวลในส่วนนโยบายภาครัฐของไทย THCOM ยืนยันว่าสามารถที่จะเจรจากับภาครัฐได้ ทั้งในส่วนของคดีความก็ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อบริษัทมากนัก รวมถึงกรณีดาวเทียมแห่งชาติ ซึ่งหลังจากได้เข้าไปพูดคุยกลับพบว่าภาครัฐต้องการที่จะสร้างดาวเทียมสำรวจมากกว่าที่จะเป็นดาวเทียมสื่อสาร โดยทาง THCOM ก็ได้เสนอตัวเข้าไปช่วยเหลือ สำหรับการขอใบอนุญาตประกอบกิจการดาวเทียมจากประเทศอื่น ไทยคมยืนยันว่าสามารถทำได้ หากต้องการทำทันทีก็สามารถทำได้เลย แต่ปัจจุบันยังต้องการขอใบอนุญาตจากประเทศไทยก่อน
บทความที่เกี่ยวข้อง
THCOM OppDay 2Q2015
THCOM OppDay 3Q2015
No comments:
Post a Comment